วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

บทที่ 1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การเรียนการสอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบของการเรียนการสอนให้ทันกับยุดเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคม เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่สำคัญในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกับการเรียนการสอน ได้ถูกนำมาเป็นสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Courseware) สำหรับช่วยเสนอในรายวิชาต่าง ๆ เพราะมีความเหมาะสมในการแสดงผลในรูปของ ข้อความ กราฟฟิก แสง สี เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการทำปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน มีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ช่วยในการสร้างบทเรียน (Authoring System) ที่สามารถนำมาช่วยพัฒนาบทเรียนให้ได้ตามที่ต้องการ

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน
ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและการถามตอบไว้พร้อมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และเป็นรายบุคคล โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการเรียนการสอน
CAI : Computer Assisted Instruction หรือ Computer Aided Instruction

1.1 หลักการคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษแตกต่างกันออกไป
หลายชื่อ เช่น Computer Assisted Instruction, Computer Based Instruction และ
Computer Based Teaching and Learning System แต่อย่างไรก็ตามหลักการของระบบ
คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนทุกแนวคิดมุ่งที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในฐานะ สื่อระบบการเรียนการสอนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตของระบบการเรียนการสอน ให้มีคุณภาพสูงสุด โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เจมส์ เอส สกินเนอร์ (Jame S. skinner) นักจิตวิทยาการศึกษาได้กล่าวว่าระบบการเรียนการสอนที่ดีจะต้องสร้าง สถานการณ์ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ 5 ประการ คือ
1. ระบบการเรียนการสอนที่ดีจะต้องแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นตอน ๆ มีความยาวเหมาะสมกับวุฒิภาวะทางการรับรู้ของผู้เรียน (gradual approximation ) โดยคำนึงถึงหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ( behavioral science ) ตามทฤษฎีที่ว่า "ถ้าเราแบ่งเนื้อหาวิชาที่จะถ่ายทอดให้ผู้เรียนเป็นตอน ๆ ทีละน้อยเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ผู้เรียนจะสามารถรับความรู้ได้ดีกว่าการให้ความรู้แก่ผู้เรียนครั้งละมาก ๆ " ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถเก็บและเรียกข้อมูลเนื้อหาวิชาทีละตอนได้สะดวกและรวดเร็วมาก
2. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง ( active partici-
pation) หมายถึง การที่ใช้คอมพิวเตอร์กำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ตอบสนองอย่างชัดเจน
3. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนรู้และกิจกรรมที่ปฏิบัติ ทันทีที่ปฏิบัติสำเร็จ (immediatly feed back) หมายถึง การเฉลยคำตอบหรือปฏิบัติกิจกรรมนั้นสำเร็จโดยฉับพลัน ซึ่งข้อนี้เป็นจุดเด่นของระบบคอมพิวเตอร์ที่ดีกว่าสื่ออื่น ๆ
4. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แห่งความสำเร็จ (successive
experience) คือ การดำเนินการจัดการชักนำเข้าสู่กิจกรรมที่ถูกต้อง (Leading of prompt) ตาม
หลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อที่ผ่านมาโดยเคร่งครัดคือ
(1) แบ่งเนื้อหาวิชาเป็นตอนสั้น ๆ เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนเพื่อขจัดปัญหาการรับรู้
และการจำการลืมกับเนื้อหาวิชาจำนวนมาก ๆ ในเวลาอันสั้น
(2) ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเพื่อเป็นการคิด ปฏิบัติทดลองและ
ทบทวนความรู้ทุก ๆ ขั้นตอนเป็นระยะสั้น ๆ
(3) จะต้องมีการเฉลยผลกิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำทันทีที่ปฏิบัติสำเร็จโดยฉับพลันรวดเร็ว
5. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่ดี (Positive reinforcement) เช่น
การให้รางวัลเป็นข้อความชมเชย หรือรางวัลเป็นรูปอื่น ๆ เมื่อผู้เรียนประสบความสำเร็จในแต่ละชั้นแต่ถ้าผู้เรียนเกิดความผิดพลาดใน การปฏิบัติ ก็ไม่ติเตียนแต่ต้องเป็นการให้กำลังใจเพื่อที่ผู้เรียนจะพยายามกระทำกิจกรรม ต่อไปให้ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอยากเรียนรู้สูงกว่าการเรียนปกติ และไม่เลิกเรียนกลางคัน การเสริมแรงมีอิทธิพลต่อการเรียนของผู้เรียนสูงมาก

1.2 ข้อดีของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

1. ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็วของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นสื่อ
การเรียนการสอนของการเรียนเป็นรายบุคคลที่ดีสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอน ตามความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะเรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคน โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องรอหรือเร่งการตอบสนอง( respond ) และไม่ต้องรอข้อมูลย้อนกลับ (feed back) จากครู เพราะคอมพิวเตอร์สามารถให้ข้อมูลกลับแก่ผู้เรียนทุกคนในเวลาเดียวกันโดยใช้ ระบบการเจียดเวลา (Time Sharing)
2. ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนเมื่อใดก็ได้ ด้วยความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารทำให้ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อ ถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่น หรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้ทุกเวลาที่ต้องการจะ เรียนในทุก ๆ แห่ง
3. ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสื่อประสม (Multi media) จากระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก
ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนสามารถ ที่จะแสดงภาพลายเส้นที่เคลื่อนไหวและการเสนอบทเรียนเป็นภาษาไทย การต่อวงจรระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสื่ออื่นให้เสนอบทเรียนในเวลาที่เหมาะสมกับ การตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดีขึ้นมาก
4. ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่น ๆ เนื่อง
จากคอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่น คือการเก็บข้อมูลซ่อนคำตอบของกิจกรรมไว้ในหน่วยความจำหรือแผ่นดิสก์ได้ครั้งละมาก ๆ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมแล้วระบบคอมพิวเตอร์สามารถบอกคำตอบหรือผลเฉลี่ยของกิจกรรมที่ถูกต้องได้ทันที

1.3 ข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

1. ขาดบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ เกี่ยวกับการสอนวิชาต่าง ๆ แต่วิชาเหล่านี้ไม่ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรงจำเป็นต้องมีการนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้ เหมาะสมกับหลักสูตรของประเทศไทย และเป็นภาษาไทยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระบบการเรียนการสอน แต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างดีขาดความรู้ด้านการจัดระบบการศึกษา และฝึกอบรมบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และผู้ที่มีความรู้ในด้านการจัดระบบการศึกษา

กระบวนการเรียนการสอนคือ การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เมื่อผู้เรียนรับรู้ข้อมูลแล้วแปลผลก็แสดงว่ามีการเรียนเกิดขึ้น
การสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอนมี 2 ลักษณะได้แก่
1. การสื่อสารทางเดียว คือ การสื่อสาร ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้เรียนทางเดียว ผู้เรียน
ไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบไปยังผู้สอนได้ เช่น การเรียนระบบทางไกล การอ่านจากเอกสารและตำรา ฯ
2. การสื่อสารสองทาง คือ การสื่อสารที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถโต้ตอบกันได้ เช่นการ
สอนในห้องเรียน การสาธิต ฯ
การสื่อสารแบบสองทาง เป็นวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้เรียนสามารถแปลผลหรือรับรู้ข่าวสารได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เมื่อไม่เข้าใจก็สามารถซักถามผู้สอนได้

1.4 ลักษณะของบทเรียน CAI

บทเรียน CAI เป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์นำเสนอบทเรียน มีลักษณะเป็นโมเดล
(Model) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบเชิงเส้น (Linear Programming) เป็นบทเรียนที่ต้องเรียนทีละหน่วยตามลำดับ จะ
ข้ามหน่วยไม่ได้ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของบทเรียน
2. แบบไม่เชิงเส้น (Branching Programming) เป็นบทเรียนที่โยงระหว่างหน่วยถึงกันได้
ตามความต้องการ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหน่วยต่าง ๆ ที่จัดไว้ตามระดับความสามารถหรือตามความต้องการของตนเองได้

1.5 รูปแบบการออกแบบการแสดงจอภาพ

การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้หลายระบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล ความชอบของผู้พัฒนา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กวัยรุ่นและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความบันเทิง อาจจะออกแบบให้มีทิศทางการไหลของหน้าจอภาพที่หลากหลายใช้ลูกเล่นได้มากกว่า จอภาพที่นำเสนอให้กับผู้ใหญ่ หรือด้านวิชาการ
ทั้งนี้รูปแบบการออกแบบจอภาพ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1. แบบลำดับขั้น (Hierarchy) เป็นการจัดแสดงหน้าจอภาพเรียงตามลำดับกิ่งก้านแตกแขนงต่อเนื่องไปเหมือนต้นไม้กลับหัว

2. แบบเชิงเส้น (Linear) เป็นการจัดแสดงหน้าจอภาพเรียงต่อเนื่องไปในทิศทางเดียว

3. แบบผสม (Combination) เป็นการจัดหน้าจอภาพชนิดผสมระหว่างแบบลำดับขั้น
และแบบเชิงเส้น

1.6 ประเภทของบทเรียน CAI

บทเรียน CAI จำแนกได้ 7 ประเภท ได้แก่
1. แบบฝึกหัดและแบบฝึกทักษะ (Drill and Practice) เป็นลักษณะบทเรียนโปรแกรมที่
สามารถเลือกบทเรียนที่จะเรียนได้ตามระดับความสามารถของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดให้ทำเพื่อทดสอบระดับความรู้ และสามารถทบทวนบทเรียนได้ เมื่อยังไม่เข้าใจหรือมีความรู้ไม่เพียงพอ
2. แบบเจรจา (Dialoque) เป็นลักษณะพูดคุยได้โต้ตอบได้ใช้ในการเรียนด้านภาษาหรือกับนักเรียนระดับอนุบาลหรือระดับประถมศึกษาตอนต้น
3. แบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) ใช้กับการเรียนที่เรียนเกี่ยวกับของจริงได้ยาก
หรือเสี่ยงอันตราย เช่น จำลองการฝึกบิน การเดินทางในอวกาศ เป็นต้น
4. เกมส์ (Games) เป็นการเรียนรู้จากเกมส์ที่จัดทำด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น เกมส์ต่อภาพ
เกมส์ต่อคำศัพท์ เกมส์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
5. การแก้ปัญหาต่าง ๆ (Problem Solving) เป็นการเรียนที่ให้คอมพิวเตอร์สุ่มข้อมูล
มาแล้วให้ผู้เรียนวิเคราะห์ หรือแก้ปัญหา เช่น วิชาสถิติ วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น
6. การค้นพบสิ่งใหม่ ๆ (Investigation) เป็นการจัดสถานการณ์ขึ้น แล้วให้ผู้เรียน
ค้นหาข้อเท็จจริง เช่น การผสมพยัญชนะ หรือคำศัพท์ โดยคอมพิวเตอร์จะบอกความหมายคำตรงข้ามคำใกล้เคียง เป็นต้น
7. การทดสอบ (Testing) เป็นการทดสอบความรู้ และความสามารถของผู้เรียน โดย
คอมพิวเตอร์จะจัดข้อสอบและทำการประมวลผลให้ทราบในทันที เช่น การทดสอบความรู้พื้นฐาน
การทดสอบ I.Q. การทดสอบความถนัดด้านต่าง ๆ เป็นต้น

1.7 คุณลักษณะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างบทเรียน CAI

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้สร้างบทเรียน CAI ประยุกต์มาจากโปรแกรมนำเสนอผลงาน (Presentation Software) ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. โปรแกรมนำเสนอด้วยภาพนิ่ง (Slide Presentation software)
2. โปรแกรมนำเสนอด้วยภาพเคลื่อนไหว (Animation Presentation software)
3. โปรแกรมสื่อประสม (Multimedia or Interactive Vedio)
โปรแกรมภาพเคลื่อนไหวและโปรแกรมสื่อประสมเป็นสื่อในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพมาก

1.8 การสร้างบทเรียน CAI ซึ่งโปรแกรมจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. สร้างภาพ (Graphic) ได้
2. สร้างตัวอักษร (Text) ได้
3. นำเสนอบทเรียนต่อเนื่องได้
4. นำเสนอบทเรียนประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวได้
5. ทำแบบทดสอบและวัดผลได้



1.9 CAI กับการเรียนรู้ของคนไทย

ท CAI - Computer aided instruction
ท บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ท สื่อการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบ และพัฒนาโดยใช้คอมพิวเตอร์ และถ่ายทอดผ่านทางสื่อคอมพิวเตอร์หรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สัญญาณดาวเทียมเมื่อนำไปใช้ในระบบการศึกษาทางไกล

1.10 ความจำเป็นในการพัฒนา CAI

1. สร้างสื่อการเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้กับวงการการศึกษา
2. เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับคนส่วนใหญ่ในสังคม
- นำไปใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา ตามความต้องการของผู้เรียน
- เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น internet การศึกษาทางไกล
3. สร้างคลังข้อมูลการเรียนรู้ให้กับประเทศ
- นำข้อมูลต่าง ๆ มารวบรวมไว้ด้วยกัน
- ผสมผสานทัศนะคติและความคิดเห็นของบุคคลหลาย ๆ คนไว้ในสื่อเดียวกัน

1.11 ประโยชน์ของ CAI

1. ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครู
- นักเรียนมีสื่อรูปแบบใหม่ในการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
- ครูต้องค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ครูต้องศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. แก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนในบางรายวิชา
3. กระตุ้นความสนใจให้กับผู้เรียน
4. กระตุ้นความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5. ช่วยให้เกิดความเข้าใจในหัวข้อการเรียนการสอน
6. เป็นข้อมูลบริหารการศึกษาให้กับระบบการศึกษาของประเทศ
7. เป็นสื่อการศึกษาที่สามารถเผยแพร่ได้อย่างแพร่หลาย

1.12 โปรแกรมช่วยพัฒนา CAI

1. โปรแกรมออกแบบงานกราฟิก ( Graphics Softwares )
- Photo Shop, Paint Brush ฯลฯ
2. โปรแกรมออกแบบภาพเคลื่อนไหว ( Animation Softwares )
- Gif Animation , Animagic Gif ,Gif Construction ,Corel Xara
3. โปรแกรมสร้างสื่อ ( Authoring Softwares )
- Show Partner F/X
- จุฬา C.A.I
- Authorware
- Tool Book

1.12.1 การพัฒนา CAI ภายใต้ระบบ WINDOWS
โปรแกรมที่ใช้พัฒนา (Authoring Softwares)
- Authorware
- Multimedia ToolBook
- CAI EZ Tools โดยบริษัทคอมพิวเทค ไมโครซิสเท็ม จำกัด
- Microsoft Power Point 7.0 for Windows 95
- Microsoft Viewer

การสร้างสื่อต้องทำให้เหมาะสมกับสถานศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร ต้องพิจารณาเกี่ยวกับความละเอียดของจอภาพ และจำนวนสี ฟอนต์ที่นำมาใช้งาน พิจารณาถึงการนำเสียงและวิดีโอมาใช้ประกอบบทเรียน


1.12.2 การพัฒนา CAI ด้วยโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
1. โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่นำมาพัฒนา CAI เช่น
- C Language
- Pascal
- Visual Basic
2. เป็นการพัฒนาระบบสร้าง CAI รูปแบบใหม่
3. พัฒนาบุคลากรของประเทศ
4. ออกแบบและสร้างบทเรียนได้ตรงตามความต้องการ

1.13 องค์ประกอบที่จำเป็นในการพัฒนา CAI

1. บทสคริปต์ อาศัยนักวิชาการ ที่มีความรู้ในรายวิชานั้น ๆ
2. โครงสร้างของโปรแกรม โดยนักวิเคราะห์ระบบร่วมกับนักวิชาการ
3. ภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนการจัดโครงเรื่อง อาศัยช่างศิลป์มืออาชีพ
4. เสียงประกอบ อาศัยผู้จัดทำดนตรีที่มีความชำนาญ
5. โปรแกรม อาศัยนักเขียนโปรแกรมที่มีความรู้ใน Authoring Software ที่เลือกใช้งาน ควรออกแบบในลักษณะโปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้

1.13.1 ข้อเสนอแนะการพัฒนา CAI ในสถานศึกษา
1. ควรมีการจัดตั้งกลุ่มพัฒนา CAI ในสถานศึกษา
2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามคุณสมบัติและความสามารถของบุคลากร
- ผู้เขียนสคริปต์ ได้แก่ ครูตามสาขาวิชา
- นักออกแบบเสียงและกราฟิก ได้แก่ ครูสอนดนตรีและศิลปะ
- นักโปรแกรม ได้แก่ ครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์
3. พิจารณาเลือก Authoring Software ให้ตรงกับสภาพของคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่จริงตามสถานศึกษานั้น ๆ

1.13.2 CAI กับอินเทอร์เน็ต
1. สร้างสื่อ CAI ด้วย HTML และ JAVA
- ความพร้อมทาง Hyper Text
- สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายและมีขนาดไฟล์ที่เล็ก
- สร้างสถานการณ์จำลองได้ด้วย JAVA
- มีโมดูลสำเร็จให้เลือกใช้มากมาย
2. นำเสนอสื่อ CAI ผ่านทางระบบ Internet
- เผยแพร่ได้กว้างขวาง
- แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนะคติ และข้อคิดเห็นในการสร้าง CAI ได้กว้าง

1.14 การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรม

1. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware)
- ซีพียู (CPU) ระดับ Pentium ขึ้นไป
- หน่วยความจำ (RAM) 32 Mb ขึ้นไป
- ฮาร์ดดิกส์ (Harddisk) ขนาด 1.2 GB ขึ้นไป
- CD-ROM
- การ์ดเสียง พร้อมลำโพง ไมโครโฟน (Card Sound)
- จอภาพ (Monitor) ขนาด 14 นิ้ว ขึ้นไป
- เครื่องสแกนภาพ (Scanner) หรือกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล
- เครื่องเล่นและบันทึกเสียง
2. โปรแกรม (Software)
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98, 2000
- โปรแกรมสร้างงานมัลติมีเดีย
- โปรแกรมวาดภาพและแต่งภาพ
- โปรแกรมจัดการด้านเสียง ภาพวิดีโอ

เมื่อได้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ต้องการสำหรับการใช้เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ให้ทำติดตั้งโปรแกรมเหล่านั้นให้เรียบร้อย การเลือกใช้ความละเอียดของจอภาพโดยทั่วไป 800 X 600 จุด ส่วนค่าสีที่ใช้อยู่ระหว่าง 256 color จนถึง High color 24 bit ให้เลือกปรับให้เหมาะกับงานที่สร้าง นอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ให้เลือกหาและใช้ตามที่เหมาะสม



http://school.obec.go.th/wadjay/cai1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น