วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การืตูน



กลอนอกหัก

อยากลืมเธอให้หมดใจ
โดยที่ใช้เวลาไม่นาน
เมื่อวันนี้ฉันเป็นแค่ทางผ่าน
ไม่มีค่าอะไรสำหรับเธอ
ไม่ใช่รู้สึกดีกับทุกคน
แค่อยากบอกไว้ให้เธอรู้
ว่าทุกสิ่งที่ฉันทำอยู่
มันออกมาจากหัวใจ
"ไม่รัก" คำเดียวก็เข้าใจ
จากนี้ไปคงเป็นแค่ความฝัน
จะคิดว่าเราไม่เคยรุ้จักกัน
ให้เธอกับเขานั้นรักกันตลอดไป

อยากจะลืม ลืมได้ไง ใจยังรัก
อยากจะหัก หักได้ไง ใจยังหลง
อยากจะลืม ลืมได้ไง ลืมไม่ลง
อยากจะลืม ลืมไม่ลง คงไม่ลืม


หายไปนานเลยนะไม่มาหา
เทอรู้ไหมทุกเวลามีแต่เหงา
ทุกนาทีถูกครอบงำช้ำเป็นเงา
ทุกชั่วโมงมีแต่เศร้าเฝ้ารอเทอ
ไม่อยากเจ็บเพราะความรักที่น่าเบื่อ
ไม่อยากเชื่อผู้ชายที่หลายใจ
ไม่อยากฟังคำว่ารักที่งมงาย
ไม่อยากตายเพราะผู้ชายเพียงคนเดียว

http://poem.meemodel.com/broken/57699.html




โรคคอพอก

รคคอพอกตาโปน หรือ โรคเกรฟส์ (อังกฤษ: Graves' disease) เป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือคอพอก (goiter) , ตาโปน (exophthalmos) , ผิวเหมือนเปลือกส้ม ("orange-peel" skin) , และมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) โรคนี้มีสาเหตุมาจากแอนติบอดีในปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง แต่สิ่งกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวยังไม่ทราบชัดเจน โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบมากที่สุดในโลก และเป็นภาวะต่อมไทรอยด์โตที่พบมากที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในยุโรปบางประเทศเรียกโรคนี้ว่า โรคเบสโดว์ (Basedow’s disease) หรือ โรคเกรฟส์-เบสโดว์ (Graves-Basedow disease)

โรคคอพอกตาโปนมีอาการเด่นคืออาการต่อมไทรอยด์โตขึ้นและปัญหาของดวงตา อาการแสดงที่ดวงตาของโรคนี้พบมากในผู้สูบบุหรี่และอาจแย่ลงหลังจากการรักษา อาการที่ไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี (radioiodine) ดังนั้นอาการแสดงที่ดวงตาจึงไม่ได้เกิดจากตัวต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ความเข้าใจผิดดังกล่าวเกิดเพราะว่าภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินจากสาเหตุอื่นๆ ทำให้หนังตาบนหดรั้งขึ้นไป (eyelid lag หรือ hyperthyroid stare) แต่ลูกตาไม่ได้โปนยื่นออกมา ซึ่งทำให้สับสนกับอาการตาโปนที่ลูกตาทั้งลูกยื่นออกมา อย่างไรก็ตามสภาวะทั้งหนังตาบนหดรั้งขึ้นไปและตาโปนอาจเกิดขึ้นพร้อมกันใน ผู้ป่วยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินร่วมกับโรคเกรฟส์

โรคคอพอกตาโปนมักมีอาการทางคลินิก 1 ข้อในอาการแสดง ดังนี้

  • ตาโปน (exophthalmos) ข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • บวมน้ำกดไม่บุ๋ม (non-pitting edema หรือ pretibial myxedema) ร่วมกับผิวหนังหนา มักพบที่ขา
  • เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดร่วมกับอยากอาหาร และอาการอื่นๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการแสดง 2 อย่างที่ใช้วินิจฉัยโรคเกรฟส์ (และไม่พบในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินชนิดอื่นๆ) คือตาโปนและบวมน้ำกดไม่บุ๋ม คอพอกซึ่งเกิดจากต่อมไทรอยด์โตเป็นชนิดกระจายทั่วทั้งต่อม (diffuse) ซึ่งสามารถพบได้ในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินจากสาเหตุอื่น แต่พบมากที่สุดในโรคเกรฟส์ ขนาดต่อมที่โตอาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากคอพอกมีขนาดไม่ใหญ่มากอาจตรวจเจอจากการตรวจร่างกายเท่านั้น ในบางครั้งอาการคอพอกอาจตรวจไม่พบทางคลินิก แต่อาจเห็นได้ด้วยการตรวจซีที สแกนหรืออัลตร้าซาวด์

อาการแสดงอื่นของโรคเกรฟส์คือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คือการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน T3 และ T4 มากกว่าปกติ อาจพบภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ (normothyroidism) หรือพบภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism) ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดคอพอก (แม้ว่าภาวะดังกล่าวไม่ใช่สาเหตุของโรคเกรฟส์) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินในโรคเกรฟส์ตรวจยืนยันโดยการวัดระดับไทรอยด์ ฮอร์โมน T3 และ T4 อิสระเพิ่มขึ้นในเลือดเช่นเดียวกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินจากสาเหตุอื่นๆ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่มีประโยชน์ในโรคนี้เช่นการตรวจฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyroid-stimulating hormone, TSH) ซึ่งมักลดลงในโรคเกรฟส์จากผลป้อนกลับ (negative feedback) จากปริมาณ T3 และ T4 ที่เพิ่มขึ้น และการวัดไอโอดีนที่ จับกับโปรตีน (protein-bound iodine) ที่จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อาจตรวจแอนติบอดีกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyroid-stimulating antibodies) ได้จากวิธีทางวิทยาเซรุ่ม (serology)

การตัดเนื้อออกตรวจเพื่อตรวจทางจุลพยาธิวิทยาโดยปกติแล้วอาจไม่จำเป็น แต่อาจทำได้หลังจากการตัดต่อมไทรอยด์ (thyroidectomy)

การแยกภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบได้บ่อย 2 รูปแบบซึ่งได้แก่โรคเกรฟส์และ Toxic multinodular goiter มีความจำเป็นในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม การวัดแอนติบอดีต่อตัวรับ TSH (TSH-receptor antibodies) ด้วยวิธี h-TBII assay ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผล และเป็นวิธีที่ใช้ได้จริง[1]

[แก้] อาการทางตา

พยาธิสภาพทางตาเป็นหนึ่งในอาการทั่วไปที่พบบ่อยสุดในโรคคอพอกตาโปน ซึ่งมีคำเรียกได้หลากหลาย ที่พบได้บ่อยคือ Graves' ophthalmopathy โรคตาจากต่อมไทรอยด์เป็นภาวะอักเสบซึ่งส่งผลต่อองค์ประกอบในเบ้าตารวมทั้งกล้ามเนื้อนอกลูกตา (extraocular muscles) และไขมันในเบ้าตา อาการดังกล่าวพบได้บ่อยร่วมกับโรคเกรฟส์ แต่อาจพบได้น้อยมากใน Hashimoto's thyroiditis, ภาวะขาดไทรอยด์ชนิดปฐมภูมิ (primary hypothyroidism) และมะเร็งต่อมไทรอยด์ (thyroid cancer)

อาการทางตาที่จำเพาะกับโรคเกรฟส์ได้แก่การอักเสบของเนื้อเยื่ออ่อน, ตาโปน, กระจกตาสัมผัสภายนอก (corneal exposure) , และการกดเบียดเส้นประสาทตา อาการทั่วไปที่พบได้เช่นหนังตาบนหดรั้งขึ้น และหนังตาบนปิดลงช้ากว่าปกติระหว่างการเพ่งมองลงล่าง

[แก้] การรักษาอาการทางตา

[แก้] อาการอื่นๆ

อาการทั่วไปที่พบบ่อยในโรคคอพอกตาโปน ได้แก่

  • อาการใจสั่น (palpitations) ใจหวิว
  • อัตราหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) มากกว่า 100-120 ครั้งต่อนาที
  • ความดันเลือดสูง (hypertension)
  • อาการสั่น (tremor) โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวละเอียด เช่น มือสั่น
  • เหงื่อออกมาก
  • ขี้ร้อน ทนร้อนไม่ได้
  • อยากอาหารมากขึ้น
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ แม้กินจุ
  • หายใจลำบาก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (โดยเฉพาะกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขนและขา) และกล้ามเนื้อลีบ
  • ความต้องการทางเพศลดลงหรือเปลี่ยนแปลง
  • นอนไม่หลับ (insomnia)
  • ใช้พลังงานมาก
  • เหนื่อยล้า (fatigue)
  • สภาวะจิตใจผิดปกติ ความจำเสื่อม
  • สมาธิสั้นลง
  • ประหม่า กังวล
  • หงุดหงิด โมโหง่าย
  • อยู่ไม่สุข หลุกหลิก
  • อารมณ์แปรปรวน
  • อารมณ์อ่อนไหว ไม่แน่นอน
  • เล็บเปราะ หักง่าย (brittle nails)
  • เต้านมโตผิดปกติ
  • คอพอก
  • ตาโปน
  • เห็นภาพซ้อน
  • ปวดตา ระคายตา รู้สึกยิบๆ ที่หลังเบ้าตา หรือรู้สึกเหมือนมีทรายในตา
  • ตาบวม แดง หรือหนังตาหดรั้ง
  • ไวต่อแสง
  • อาการระดูห่าง (oligomenorrhea) , ภาวะขาดระดู (amenorrhea)
  • มีบุตรยาก ต้องครรภ์ยาก หรือแท้งบ่อย
  • ผมร่วง
  • คันตามผิวหนัง อาการเหมือนลมพิษ
  • รู้สึกเหมือนมีก้อน บวมแดงที่ผิวหนังของขา (pretibial myxedema)
  • ทางเดินอาหารบีบตัวเร็ว หรือท้องเสีย
  • อาจมีอาการเวียนศีรษะ

^ Wallaschofski H, Kuwert T, Lohmann T (2004). "TSH-receptor autoantibodies - differentiation of hyperthyroidism between Graves' disease and toxic multinodular goitre". Exp. Clin. Endocrinol. Diabetes 112 (4): 171–4. doi:10.1055/s-2004-817930. PMID 15127319




โรคคางทูม

โรคคางทูม (Mumps)


โรคคางทูม (Mumps)


โรคคางทูม เป็นการติดเชื้อและมีการอักเสบของต่อมน้ำลาย (Parotid gland) ที่อยู่บริเวณกกหูทำให้ที่บริเวณคางบวม จึงได้ชื่อว่าคางทูม พบในเด็กเป็นส่วนใหญ่

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus

ระบาดวิทยา
ติดต่อกันได้โดยตรงทางการหายใจ (Droplet spread) และสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกัน เป็นกับเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรง และมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็ก หลังจากมีวัคซีนป้องกันในประเทศที่พัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้ลดลงมาก ระยะที่ติดต่อกันได้ง่าย คือจาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน) ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5-9 วันหลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย

ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วันหลังสัมผัสโรค

อาการ
ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ ในผู้มีอาการจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมา 1-2 วัน จะมีอาการปวดหู เจ็บบริเวณขากรรไกร จากนั้นต่อมน้ำลายหน้าหูจะโตขึ้นจนคลำได้ โดยค่อยๆ โตขึ้นจนถึงบริเวณหน้าหูและขากรรไกร บางรายโตขึ้นจนถึงระดับตา ประมาณ 1 สัปดาห์ จะค่อยๆ ลดขนาดลง

โรคแทรกซ้อน
1) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง
2) โรคแทรกซ้อนที่นับว่ารุนแรงคือ สมองอักเสบ พบได้ประมาณ 1 ใน 6,000 ราย ซึ่งอาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้
3) ถ้าเป็นในเด็กชายวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจมีการอักเสบของอัณฑะ ซึ่งในบางรายอาจทำให้เป็นหมันได้
4) โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจพบได้น้อยมาก คือ ข้ออักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และหูหนวก

การวินิจฉัยโรค
จาก การแยกเชื้อไวรัสจาก throat washing จากปัสสาวะและน้ำไขสันหลัง และหรือตรวจหาระดับ antibody โดยวิธี Hemagglutination Inhibition (HAI) หรือ Neutralization test (NT)

การรักษา
ตามอาการ ให้ยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว

การแยกผู้ป่วย
แยกเกี่ยวกับระบบการหายใจ โดยแยกผู้ป่วยจนถึง 9 วัน หลังเริ่มมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย

การป้องกัน
หลีก เลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้วัคซีนป้องกันด้วยการให้วัคซีนป้องกันคางทูม ซึ่งมาในรูปแบบของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 1 ครั้ง ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1


http://thaigcd.ddc.moph.go.th/vac_p_Mum.html


หน้าฝนมาเยือนทีไร ก็มักจะนำหลาย ๆ โรคมาสู่คนด้วย และหนึ่งในโรคสำคัญที่มักระบาดในฤดูฝน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ๆ ก็คือ โรคตาแดง นั่นเอง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา และติดต่อแพร่ระบาดผ่านกันได้อย่างรวดเร็ว

โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รายงานสถานการณ์การระบาดของ โรคตาแดง ในรอบ 9 เดือน ที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 มกราคม - 14 กันยายน 2552 ว่า พบผู้ป่วย โรคตาแดง แล้ว 64,816 ราย โดยอัตราป่วยสูงสุด อยู่ที่ภาคใต้ คือ แสนละ 210 คน รองลงมาคือ ภาคเหนือ แสนละ 127 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสนละ 80 คน และภาคกลาง แสนละ 68 คน ทั้งนี้ตลอดปี 2551 มีผู้ป่วยทั้งหมด 91,838 ราย โดยภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุด แสนละ 211 คน รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ แสนละ 198 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสนละ 125 คน และภาคกลาง แสนละ 106 คน

เห็น ความร้ายกาจในการแพร่ระบาดของ โรคตาแดง แล้ว วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำข้อมูลของ โรคตาแดง มาฝากกัน เพื่อให้สามารถป้องกันและเตรียมรับมือกับ โรคตาแดง ได้ค่ะ

โรคตาแดง (Conjunctivitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส (Adenovirus) ที่แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้มากกว่า 50 กลุ่ม และประมาณ 1 ใน 3 สามารถทำให้เกิด โรคตาแดง ได้ ทั้งนี้การติดเชื้อไวรัสตาแดงมีทั้งหมด 3 ชนิด คือ

1.ชนิดคออักเสบร่วมด้วย

2.ชนิดตาอักเสบไม่มาก

3.ชนิดตาอักเสบรุนแรง ซึ่งชนิดสุดท้ายเป็นชนิดที่มีความรุนแรงมากกว่าทุกชนิด

อาการติดเชื้อไวรัสตาแดงชนิดมีเลือดออก (Acute hemorrhagic Conjunctivits) นี้ ระยะเวลาของโรคตาแดงนี้จะนาน 10-14 วัน


กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ โรคตาแดง

โรคตาแดง สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน ผุ้ใหญ่ ตลอดจนผู้สูงอายุ และมักเกิดในโรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำงาน สถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก และ โรคตาแดง มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน และระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น


การติดต่อ โรคตาแดง

โรคตาแดง สามารถติดต่อได้ง่าย ๆ โดย

1. การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อ โรคตาแดง จากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง

2.ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย

3.ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา

4.แมงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา

5.ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า

ทั้ง นี้ โรคตาแดง จะไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน และอาการต่างๆ จะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน และระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน


อาการของ โรคตาแดง

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อ ๆ เพราะมีเลือดออกที่เยื่อบุตาขาว น้ำตาไหลเจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย โดยอาจเป็นเมือกใสหรือสีเหลืองอ่อน จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ภายใน 1-2 วัน ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างทาง ที่ติดเชื้อไวรัสมาถูกตาข้างที่ดีจะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้บางรายอาจมีตาดำอักเสบ ทำให้เคืองตามาก และมีแผลที่ตาดำชั่วคราวได้


โรคแทรกซ้อน โรคตาแดง

มีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3 สัปดาห์ หรือบางรายเป็น 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน

การรักษา โรคตาแดง

จะ รักษา โรคตาแดง ตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามากก็หยอดยาปฎิชีวนะ มีไข้ เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด

ผู้ป่วย โรคตาแดง ต้องพยายามรักษาสุขภาพพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรทำงานดึกควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว และควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสง

ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้

หากรักษาด้วยยาป้ายตา หรือยาหยอดตานานเกิน 7 วัน แล้วอาการยังไม่ทุเลา หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น ปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเป็นหนอง ลืมตาไม่ขึ้น มีไข้สูง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะหากทิ้งไว้นานถึงขั้นตาบอดได้


การป้องกัน โรคตาแดง

1.หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ

2.ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย

3.ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที

4.อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา

5.หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

6.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน เพื่อป้องกันการกระจายของโรค

7. หลีกเลี่ยงการใช้มือแคะ แกะ เกาหน้าตา

ทั้งนี้หากมีอาการตาแดง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดอาการตาแดง ซึ่งนอกจากจะเกิดจากเชื้อไวรัสแล้ว อาจเกิดจากสารเคมี หรือรังสี โดยเฉพาะรังสีอุลตราไวโอเลตได้

ข้อแนะนำ สำหรับผู้ป่วย โรคตาแดง

1.หากเป็น โรคตาแดง แล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 3 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้ โรคตาแดง ลุกลามหรือติดต่อสู่คนอื่น

2.หากใช้กระดาษ หรือสำลีเช็ดขี้ตา เช็ดหน้าแล้ว ควรทิ้งในถังขยะที่มิดชิด

3.ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าเช็ดขี้ตา เพราะผ้าเช็ดหน้าจะเก็บสะสมเชื้อไว้และติดต่อไปยังผู้อื่นได้

4.ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคืองแสง

5.ไม่ควรใช้ผ้าปิดตา เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น

6.งดใส่คอนแทกเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ

7.ควรพักผ่อนให้เต็มที่ และพักการใช้สายตา

8.หมั่นรักษาความสะอาด และต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่จับบริเวณใบหน้าและตา เนื่องจาก โรคตาแดง จะติดต่อโดยการสัมผัสมากที่สุด การล้างมือจะช่วยตัดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างดี
http://health.kapook.com/view4052.html



โรคไต

โรคไต หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่
โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง
โรคไตอักเสบเนโฟรติก
โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

อาการ

ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ
ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่
การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ
การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
ความดันโลหิตสูง เนื่อง จากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่

สาเหตุ

เป็น มาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
เกิด จากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

คำแนะนำ

1.
กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมาก ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น
โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด จำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้น ให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียง กับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหาร ที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีน เพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน
2.
กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดย ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน ด้วยการจำกัดอาหาร ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
3.
งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของ การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสีย ต่อระบบกระดูกดังกล่าว
4.
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม เช่น เนื้อเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋องข้างต้น
5. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรี ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน
แหล่งข้อมูล : www.dmsc.moph.go.th - ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม

โรคมะเร็ง


โรคมะเร็งเป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งมีมลภาวะจากการพัฒนาประเทศ และประชาชนขาดความเอาใจใส่ต่อสุขภาพตนเอง ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เลือก เหล่าเป็นสาเหตุให้มะเร็งเพิ่มขึ้น

โรคมะเร็งเป็นโรคที่ป้องกันได้ และสามารถรักษาให้หายขาดได้หากสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มเป็น เนื้อหาที่นำเสนอจะเป็นแนวทางการตรวจและวินิจฉัย พร้อมทั้งแผนการรักษา ท่านผู้อ่านควรทำความเข้าใจ และนำความรู้ที่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านเกี่ยวกับวิธีรักษาของมะเร็งแต่ละชนิด

โรคมะเร็งคืออะไร

ร่าง กายเราประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ อวัยวะจะประกอบด้วยเซลล์ กลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างและทำหน้าที่เหมือนกันรวมตัวกันจะเป็นอวัยวะ หลายอวัยวะมาทำงานร่วมกันเป็นระบบ หลายๆระบบทำงานร่วมกันเป็นร่างกายของคนเรา เซลล์ต่างๆจะมีอายุเมื่อตายก็จะมีเซลล์ใหม่เจริญทดแทนเซลล์เก่า

เซลล์ ที่สร้างใหม่ไม่หยุดเราเรียกเนื้องอกซึ่งแบ่งเป็น เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงหรือทางการแพทย์เรียก Benign tumor ส่วนมะเร็งที่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆเรียกมะเร็ง

ชนิดของมะเร็ง

ชนิดของมะเร็งจะแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิด เช่น

  • carcinomas เซลล์ต้นกำเนิดเกิดเซลล์บุผิว (epithelium)มะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 85
  • Sarcomas เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อผูกพัน(connective tissue) เช่นกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน
  • leukemia/lymphoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือด
  • มะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งสมอง

คนเราเป็นโรคมะเร็งชนิดไหนมาก

ผู้ชายเราพบมะเร็ง

  • มะเร็งปอด 19%
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก 17 %
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ 14 %
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 7 %

ผู้หญิง

  • มะเร็งเต้านม 29%
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ 12%
  • มะเร็งปอด 11%
  • มะเร็งรังไข่ 5%

การรักษาโรคมะเร็ง

การเฝ้าติดตาม

เมื่อ บอกว่าเป็นมะเร็งคนทั่วไปมักจะคิดว่าต้องผ่าตัด หรือให้เคมีบำบัด แต่มีมะเร็งบางประเภทที่ไม่แพร่กระจาย และเจริญเติบโตช้ามาก การรักาาจึงเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของมะเร็ง

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะผ่าเอาเนื้องอกออกจากร่างกาย นอกจากนั้นบางรายอาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งที่แพร่กระจายออกให้หมด อ่านที่นี่

การฉายแสง

คือการใช้รังสีรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่มีผลกับเซลล์ปกติน้อย อาการข้างเคียงคืออาการอ่อนเพลียไม่มีแรง

เคมีบำบัด

คือ การให้สารเคมีหรือยาที่ทำลายเซลล์มะเร็งมีทั้งยาเม็ด ยาน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นยาฉีด มะเร็งบางชนิดให้ยาเพียงชนิดเดียวแต่ว่วนใหญ่จะยาสองชนิดขึ้นไป

การให้ฮอร์โมน

มะเร็งบางชนิดจะแบ่งตัวเมื่อมีฮอร์โมน การให้ยาเพื่อเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่จะใช้รักษามะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาอื่นๆ

เช่นการให้ภูมิเพื่อทำลายเซลล์เช่น interferon เป็นต้นhttp://www.siamhealth.net/public_html/index0/ca_main.htm










พิมวดี 1

ความรู้ทั่วไปเรื่องเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

โรคเบาหวานคืออะไร

อาหาร ที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย

อาการของโรคเบาหวาน

คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย

* คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึกหรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
* ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
* อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
* ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
* อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน
* คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
* เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง
* ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
* อาเจียน

น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้

ใครที่ควรจะต้องเจาเลือดหาโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ

* ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ
* อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า27% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็นสำหรับประเทศในเอเซียเราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากดังนั้นแนะนำว่าควรจะเจาะเลือดตรวจเบาหวานเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อยากทราบว่าดัชนีมวลกายเท่าไรคลิกที่นี่
* อายุมากกว่า45ปี
* ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
* ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
* ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
* ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
* ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม

บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก3ปี หากคุณเป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวการป้องกันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การคุมน้ำหนัก สำหรับรายละเอียดอย่างอื่นให้ดูหัวข้อบนเมนูด้านขวา

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน | การคัดกรอง | ชนิดของเบาหวาน | หลักการรักษาและโรคแทรกซ้อน |เป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน | การติดตามและการประเมิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตสูง

โรคหัวใจ

โรคหลอดเลือดสมอง

ไขมันในเลือดสูง

ร่างกายขาดน้ำ

โรคไตวาย

การออกกำลังกาย

อาหารสุขภาพ
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/intro.htm
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/pict/puncture.jp

โรคมาลาเรีย


ประวัติ

ตามหลักฐานการบันทึกได้มีการรายงานว่า การติดเชื้อโรคมาลาเรียในประชากรมนุษย์นั้น มีมานานกว่า 50,000 ปีแล้ว และเชื้อดังกล่าวอาจเป็นเชื้อก่อโรคในมนุษย์ที่มีการกำเนิดมาพร้อมกับการมี มนุษย์บนโลกก็เป็นได้[1] พบว่าเชื้อที่มีความใกล้เคียงกับมาลาเรียสามารถเป็นปรสิตในลิงชิมแปนซีซึ่งมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มาก[2] ในช่วงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การติดเชื้อมาลาเรียได้มีการถูกบันทึกไว้อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ในประเทศจีนเมื่อ 2700 ปีก่อนคริสตกาล[3] คำว่ามาลาเรียมีที่มาจากภาษาอิตาลีโบราณคำว่า mala aria ซึ่งแปลว่า อากาศที่ไม่ดี

การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ก่อเกิดความก้าวหน้าที่มีสำคัญต่อองค์ความรู้เรื่องโรคมาลาเรียในปี พ.ศ. 2423 เมื่อแพทย์ทหารชาวฝรั่งเศสที่ทำงานในประเทศอัลจีเรียชื่อ Charles Louis Alphonse Laveran ได้สังเกตเห็นปรสิตในเม็ดเลือดแดงของคนที่ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย จึงเสนอแนวคิดว่าสาเหตุก่อโรคมาลาเรียคือเชื้อโปรโตซัว ซึ่งการตั้งสมมุติฐานนี้เป็นครั้งแรกที่มีการระบุว่าเชื้อโปรโตซัวเป็นสาเหตุของโรค[4] จากการค้นพบครั้งนี้และงานอื่นๆ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี พ.ศ. 2450 เชื้อโปรโตซัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Plasmodium (พลาสโมเดียม) โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ Ettore Marchiafava และ Angelo Celli[5] ในปีต่อมา แพทย์ชาวคิวบาชื่อ Carlos Finley ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยโรคไข้เหลืองในฮาวานาได้เสนอว่ามาลาเรียสามารถติดต่อได้โดยมียุงเป็นพาหะ อย่างไรก็ดี แพทย์ชาวอังกฤษชื่อ Sir Ronald Ross ที่ทำงานอยู่ในประเทศอินเดียได้พิสูจน์ในปี พ.ศ. 2441 ว่าเชื้อมาลาเรียติดต่อผ่านทางยุงได้จริง เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่ายุงชนิดหนึ่งได้นำเชื้อโรคนี้ติดต่อไปยังนก และสามารถสกัดปรสิตมาลาเรียจากต่อมน้ำลายของยุงที่ไปกัดนกที่ติดเชื้อตัว นั้นได้[6] จากการวิจัยนี้ทำให้ Ross ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี พ.ศ. 2445 หลังจากลาออกจากการปฏิบัติงานทางการแพทย์ในประเทศอินเดีย Ross ได้เข้าทำงานใน Liverpool School of Tropical Medicine ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ และมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคมาลาเรียในประเทศอียิปต์ ปานามา กรีซ และ มอริเชียส[7] การค้นพบของ Finlay และ Ross ได้รับการยืนยันในเวลาต่อมาโดย medical board นำโดย Walter Reed ในปี พ.ศ. 2443 และได้รับการนำไปใช้ William C. Gorgas ในหน่วยงานสาธารณสุขระหว่างการก่อสร้างคลองปานามา การปฏิบัติงานทางสาธารณสุขนี้ได้ช่วยชีวิตคนงานนับพันและได้เริ่มสร้างวิธีการในการต่อสู้กับโรคมาลาเรียในปัจจุบัน
[แก้] สาเหตุของโรค

มาลาเรียเกิดจากเชื้อปรสิต สกุล Plasmodium 4 ชนิดได้แก่

1. Plasmodium falciparum เป็นชนิดร้ายแรงที่สุด[8]
2. Plasmodium vivax
3. Plasmodium malariae
4. Plasmodium ovale

P. falciparum และ P. malariae จะสามารถเข้าไปบุกรุก(invade)และทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงทุกระยะ แต่ P. vivax และ P. ovale นั้น จะทำลายเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ (Reticulocyte) เท่านั้น โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Plasmodium falciparum กับ Plasmodium vivax
[แก้] การติดต่อ

การติดต่อสู่คนโดยการถูกยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียกัด ยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะของมาลาเรียที่สำคัญ ในเมืองไทย มีสองชนิด คือ

1. Anopheles Dirus พบในป่าทึบชอบออกไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ลักษณะนิสัยชอบกินเลือดคน มาก ไม่ชอบกินเลือดสัตว์อื่นออกหากินตอนกลางคืนถึงเช้ามืด แต่ถ้าป่าทึบมาก ๆ ก็หากินช่วงกลางวันด้วย ยุงชนิดนี้ เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อมาลาเรียมากกว่ายุงพาหะชนิดอื่นใน ประเทศไทย
2. Anopheles Minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใส ไหลเอื่อย ๆ

[แก้] แหล่งระบาด

พ.ศ. 2550 นี้ มีการประเมินว่าจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียกว่า 500 ล้านคน โดยจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้อย่างน้อยหนึ่งล้านคน[8]

แหล่งระบาดของมาลาเรียในประเทศไทยอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีแหล่งน้ำ ลำธาร อันเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง จังหวัดที่พบผู้ป่วยมาลาเรียส่วนใหญ่ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก ตราด ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และชุมพร
[แก้] พยาธิกำเนิด

โรคมาลาเรียในมนุษย์มีสองระยะ ระยะหนึ่งอยู่ภายนอกเม็ดเลือดแดง (exoerythrocytic phase) คืออยู่ในเซลล์ตับ อีกระยะหนึ่งอยู่ภายในเม็ดเลือดแดง (erythrocytic phase) เมื่อยุงที่ติดเชื้อมาลาเรียไปดูดเลือดจากมนุษย์ สปอโรซอยต์ (sporozoite) ในน้ำลายของ ยุงตัวนั้นจะเข้าไปสู่กระแสเลือดของมนุษย์ เมื่อสปอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือดแล้วเชื้อจะไปเดินทางไปถึงตับ และจะเข้าสู่เซลล์ตับภายใน 30 นาทีหลังจากยุงกัด หลังจากนั้นเชื้อจะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอยู่ ประมาณ 6-15 วัน โดยไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติใดๆต่อผู้ได้รับเชื้อ เชื้อในตับจะเพิ่มจำนวนขึ้นได้นับพันหรือหมื่นตัวต่อหนึ่งเซลล์ตับ แต่ละตัวเรียกว่า เมอโรซอยต์ (merozoite) กระบวนการนี้เรียกว่า merogony หรือ schizogony เมื่อเจริญมากถึงระดับหนึ่ง เซลล์ตับจะแตกออก และเมอโรซอยต์จำนวนมากจะเข้าสู่กระแสเลือด และเข้าสู่เม็ดเลือดแดง เป็นการเริ่ม erythrocytic phase เชื้อนี้ออกจากตับโดยเอาเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ตับคลุมตัวเองไว้ ภูมิคุ้มกันไม่สามารถตรวจจับได้

เมื่อเข้าสู่ระยะในเม็ดเลือดแดงแล้ว เชื้อจะเพิ่มจำนวนแบบไม่อาศัยเพศอีกครั้ง เมื่อได้จำนวนมากถึงระดับหนึ่งก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกออก และเชื้อจำนวนมากก็จะถูกแพร่เข้าสู่กระแสเลือดไปสู่เม็ดเลือดแดงใหม่ต่อไป ในแต่ละครั้งที่เม็ดเลือดแดงแตกออกและมีเชื้อจำนวนมากเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีไข้เป็นระยะๆ ซึ่งช่วงของการเกิดไข้จะเป็นไปแล้วแต่ชนิดของเชื้อ การมีไข้จับเป็นระยะๆ นี้เอง ที่เรียกว่า "จับไข้"

เชื้อพลาสโมเดียมบางชนิด เช่น P. vivax และ P. ovale เมื่อเข้าสู่เซลล์ตับแล้วอาจจะไม่พัฒนาเป็นเมอโรซอยต์ในทันที แต่จะเข้าสู่ระยะพักที่เรียกว่า hypnozoite แทน เชื้ออาจอยู่ในระยะนี้ได้นานถึง 6-12 เดือน ไปจนถึง 3 ปี หลังจากนี้แล้ว เชื้อจึงจะเจริญต่อไป ทำให้ได้เมอโรซอยต์จำนวนมากไปสู่กระแสเลือดตามปกติ การมีระยะ hypnozoite นี้เอง ที่ทำให้โรคมาลาเรียที่เกิดจากเชื้อดังกล่าวมีระยะฟักตัวนาน และอาจมีการเป็นโรคซ้ำได้อีกหลังจากเป็นแล้ว[9]

ปรสิตนี้แทบไม่ถูกกำจัดโดยระบบภูมิคุ้มกันของ ร่างกาย เพราะวงจรชีวิตของเชื้อนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเซลล์ คือเซลล์ตับและเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่ถูกตรวจจับโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย อย่างไรก็ดี เซลล์เม็ดเลือดที่ติดเชื้อจะถูกกรองและทำลายทิ้งที่ม้าม ซึ่งเป็นการทำลายเชื้อได้ทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี เชื้อ P. falciparum มีวิธีหลบหลีกจากกระบวนการการของร่างกายดังกล่าวโดยปรสิตจะมีการสร้างโปรตีนยึดเกาะบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อไปติดอยู่กับหลอดเลือดขนาดเล็ก ซึ่งทำให้เม็ดเลือดติดเชื้อนั้นไม่ถูกกำจัดที่ม้าม และเชื้อปรสิตสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้[10] การที่เม็ดเลือดแดงไปติดอยู่กับหลอดเลือดนี้เองเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการ แทรกซ้อนเป็นเลือดออกของมาลาเรีย และยังอาจทำให้เส้นเลือดอุดตันได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียขึ้นสมอง (cerebral malaria)

แม้ว่าโปรตีนยึดเกาะนี้ (PfEMP1 ย่อมาจาก Plasmodium falciparum erythrocyte membrane protein 1) จะถูกนำไปแทรกไว้ที่ผิวเม็ดเลือดแดงก็ตาม โปรตีนนี้ไม่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีนัก เนื่องจากโปรตีนนี้มีความหลากหลายมาก ลักษณะนี้อาจเปรียบเทียบได้กับคนร้ายปลอมตัวที่เมื่อถูกจับได้ครั้งหนึ่งก็ เปลี่ยนหน้ากากเป็นอีกแบบหนึ่ง จึงทำให้ไม่ถูกตรวจจับได้โดยง่าย

เมอโรซอยต์บางตัวจะกลายเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย (gametocyte) หากยุงมากัดคนที่ติดเชื้อและดูดเอาเลือดที่มีเม็ดเลือดที่ติดเชื้อมาลาเรีย ในระยะ gametocyte นี้ไป เซลล์เพศผู้และเพศเมียจะผสมพันธุ์กันในทางเดินอาหารของยุง (เนื่องจากการที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศในยุงนี้เอง จึงทำให้ถือว่ายุงเป็น definitive host ของเชื้อมาลาเรีย) เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วจะทำให้ได้สปอโรซอยต์ใหม่เดินทางไปอยู่ในต่อมน้ำลาย ของยุง และเมื่อยุงไปกัดคนอื่นต่อไป ก็จะนำเชื้อมาลาเรียระยะสปอโรซอยต์ไปติดคนใหม่
[แก้] อาการ

หลังจากได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัด คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารได้ ลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่า ไข้จับสั่น คือ มีอาการหนาวสั่น ไข้สูง และตามด้วยเหงื่อออก

อาการไข้ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3 ระยะคือ

1. ระยะสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ อาจจะเกิดขึ้นนานประมาณ 15 – 60 นาที ระยะนี้ตรงกับการแตกของเม็ดเลือดแดง
2. ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หน้าแดง ระยะนี้ใช้เวลา 2 – 6 ชั่วโมง
3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนชุ่มที่นอน หลังจากระยะเหงื่อออก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไข้ลด

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดัง กล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี[1]

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย[2]

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น

ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่าง จากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ต้นไม้มงคลขนุน

มงคล
ต้นขนุนเป็นไม้เก่าแก่ที่คนไทยนิยมปลูกกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว

คนโบราณเชื่อว่าขนุนเป็นไม้มงคลนาม คือให้ความเป็นสิริมงคลเหมือนชื่อ และจะส่งผลให้ผู้ปลูกมีบุญหนุนนำ ชีวิต
จึงมีแต่ความสุขและรุ่งโรจน์

เชื่อกันว่าผู้ปลูกขนุนจะมีผู้ช่วยเหลือเกื้อหนุน จะทำการสิ่งใดก็มีคนสนับสนุนผลักดันให้ก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จหากจะ
ทำมาค้าขาย ก็จะร่ำรวยเพราะมีคนอุดหนุนจุนเจือไม่ขาด ไม่ว่าจะทำกิจใด ชีวิตก็จะรุ่งเรือง มีเงินมีทองหนุนเนื่องตลอดไป

เคล็ดปฏิบัติ
การปลูกขนุนเพื่อความเป็นสิริมงคลนั้น ควรให้ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ลงมือปลูก

วันที่เหมาะแก่การปลูกคือวันจันทร์และวันพฤหัสบดี

และจำเป็นอย่างยิงที่จะปลูกต้นขนุนไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน



http://www.yodtip.com/web/tree/t4.asp

ต้นไม้มงคลของจีน

สิ่งที่เป็นมงคลของชาวจีนมีมากมาย ตั้งแต่คำพูด ตัวอักษร ลวดลาย ภาพวาด สิ่งของ เครื่องใช้ ดอกไม้ ผลไม้ ขนม ในส่วนของต้นไม้มงคลของชาวจีนก็มีมากมาย แต่จะขอพูดถึงต้นไม้สำคัญเพียง 4 ต้น ดังนี้

1. ท้อ ถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นไม้สวรรค์ ในพงศาวดารจีนเขียนไว้ว่า ดอกท้อเป็นดอกไม้ที่เกิดในดวงจันทร์ ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า ที่คนเจ็บไข้ได้ป่วยก็เพราะผีเข้า พวกพ่อมดหมอผีจะใช้กิ่งท้อที่ยื่นไปทางทิศตะวันออก และทิศใต้มาทำเป็นไม้เรียวตีไล่ผี หรือไม่ก็ใช้ใบท้อผสมลงในหม้อยา ให้คนไข้กินไล่ผีที่สิงอยู่ออกไป ในวันปีใหม่ หนุ่ม ๆ สาวๆ หรือ ผู้เฒ่าผู้แก่ จะพากันดื่มน้ำท้อ


เวลาอาบน้ำก็จะอาบน้ำอุ่นที่เอากิ่งท้อใส่ลงไปต้ม ถือว่าเป็นสิริมงคลยิ่ง และปีนั้นทั้งปีจะปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ ในสมัยโบราณยังนำไม้ท้อมาทำเป็นเครื่องลางแขวนคอ



บางครั้งใช้ไม้ท้อแขวนไว้ตามประตู เพื่อป้องกันภูตผี สิ่งชั่วร้าย ไม่ให้เข้าไปรบกวน เรียกได้ว่าคนจีนในสมัยโบราณใช้ ต้น ใบ กิ่ง ของท้อเป็นไม้มงคล ถึงแม้ในปัจจุบัน แม้ความเชื่อนี้จะเลือนหายไปบ้าง แต่ท้อก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความยั่งยืน เป็นมงคลเหมือนเดิม

2. ทับทิม เป็นไม้เก่าแก่ของจีน ชาวจีนถือว่าทับทิมเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ และการมีลูกหลานมากมาย โดยถือเอาความที่มีเมล็ดมากมายมาเป็นสัญลักษณ์ ชาวจีนจึงนิยมให้ทับทิมเป็นของขวัญวันแต่งงาน เพื่อเป็นการอวยพรให้คู่บ่าวสาวมีลูกมาก ๆ เพื่อสืบตระกูล



แต่ก่อนแต่งตอนฝ่ายชายนำสินสอดไปสู่ขอฝ่ายหญิง ต้องเอาใบทับทิมเคล้ากับเงินสินสอดไปด้วย และในพิธีแต่งงานมักจะใช้ยอดทับทิมปักที่ผม เวลาเซ่นไหว้เจ้าในพิธีแต่ง ก็เอายอดทับทิมปักที่เครื่องเซ่น



นอกจากจะถือว่าผลทับทิมเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ มีลูกหลานสืบตระกูลมากมายแล้ว ชาวจีนยังถือว่า ใบและกิ่งทับทิมมีอำนาจไล่ผีได้ เช่นเดียวกับกิ่งและใบของท้อ ดังนั้น เมื่อไปงานศพกลับมา จึงมักใช้ใบทับทิมแช่น้ำ ล้างมือ ล้างหน้า เพื่อเป็นมงคล

3.ไม้ไผ่ ได้รับสมญาว่า เป็นพญาแห่งมวลพฤกษา ซึ่งนอกจากจะให้ประโยชน์นานัปการแล้ว ชาวจีนยังเชื่อว่า เสียงแตกของไม้ไผ่ในกองไฟสามารถขจัดภูติผีปีศาจได้



ดังนั้น เมื่อถึงเทศกาลสำคัญ เช่น ตรุษจีน หรืองานมงคลอื่น ๆ ชาวจีนจึงนิยมทิ้งไม้ไผ่ลงไปในกองไฟ เพื่อให้เกิดเสียงดัง เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้าย ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น มีการทำประทัด ประทัดจึงมาทำหน้าที่แทนไม้ไผ่

4.โป๊ยเซียน มีถิ่นกำเนิดในเกาะมาดากัสการ์ เข้ามาเมืองไทยโดยผ่านทางจีน จึงได้ชื่อจีนมาด้วย คำว่า "โป๊ยเซียน" หมายถึงผู้วิเศษทั้ง 8 คือ


1. หลีทิถ้วย (เซียนพิการ)


2. ฮั่นเจงหลี (เซียนหอสมุด)


3. ลื่อทงปิง (เซียนอาจารย์)


4. เตียถั้วเล้า (เซียนค้างคาวเผือก)


5. นำไช่ฮั้ว (เซียนวณิพก)


6. ฮ่อเซียนโกว (เซียนสาวสวย)


7. ฮั้นเซียงจือ (เซียนกวี)


8. เช่าแก้กู๋ (เซียนถ้ำ)

เซียนทั้งแปดนี้นำโชคลาภมาให้ ทั้งยังช่วยป้องกันภัยอันตราย และยังขจัดทุกข์โศกได้อีกด้วย

ในสมัยโบราณ ผู้ที่จะปลูกโป๊ยเซียน ต้องเป็นฮ่องเต้ พระบรมวงศานุวงศ์ หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ปลูกเพื่อไว้ใช้เสี่ยงทาย บุญวาสนาของบุคคลระดับปกครองเท่านั้น ครั้นเวลาผ่านไป ต้นไม้ต้นนี้ก็มีผู้แอบเล็ดลอดนำออกนอกวังฮ่องเต้ ออกนอกรั้วบ้านขุนนาง ออกไปเผยแพร่สู่สามัญชน



และก็เป็นพ่อค้าชาวจีนที่นำเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อกว่า 100 ปีเศษ มานี้เอง และการที่ได้ชื่อว่า "โป๊ยเซียน" เพราะตามธรรมชาติ มันจะออกดอกตั้งแต่ 1 ถึง 4 ดอก เท่านั้น



หากผู้มีโชควาสนาเป็นผู้ปลูก จึงจะออกดอกช่อหนึ่ง ตั้งแต่ 8 ถึง 16 ดอก หรือ 32 ดอก ยิ่งออกมากก็ยิ่งแสดงว่ามีบุญบารมีมาก ชาวจีนในเมืองไทย และชาวไทยเองก็นิยมปลูกต้นโป๊ยเซียนไว้เสี่ยงทายโชควาสนาชะตาของตนเอง โดยถือตามคติจีน



และนิยมกันว่า การปลูกโป๊ยเซียนควรปลูกในกระถางที่มีรูปโป๊ยเซียนด้วยจึงต้องโฉลกตามตำรา และบางทีก็ถือกันว่า ต้องปลูกให้ครบ 8 กระถาง จึงจะเข้าโฉลกกับเซียนทั้งแปด ก็ถือว่าเป็นมงคล








ที่มา: ดวงพร ตันชัยสวัสดิ์ และอื่น ๆ. ทศมงคล. กรุงเทพฯ, บริษัทหลักทรัพย์ เอกธำรง จำกัด (มหาชน), 2539. 145

ต้นไม้มงคล

ต้นโกศล ต้นไม้มงคล ชื่อนั้นพ้องกับคำว่า กุศล จึงเชื่อว่า คือการสร้างบุญ คุณงามความดี
ช่วยคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นไม้ยืนต้นที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจาก
สีสันสวยสดของใบ และคุณสมบัติที่ช่วยเสริม ความเป็นสิริมงคลให้กับบ้านอีกด้วย

ต้นกวนอิม เป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อใกล้เคียงกับเทพเจ้าที่ชาวจีน และชาวไทยให้ความเคารพบูชา
กันทั่วไป เชื่อกันว่าต้นกวนอิมเงิน กวนอิมทองนั้น เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้มงคลเสริมดวงชะตา
เพราะคนโบราณมักจะใช้ต้นไม้ทั้งสองชนิดนี้ มาประกอบในพิธีบูชาเทพเจ้า
เชื่อกันว่าเมื่อปลูกกวนอิมในบ้านจะเกิดเป็นสิริมงคล นำผลให้มีฐานะดี เกิดความร่ำรวย

ต้นกระดังงา ต้นไม้มงคล ที่นิยมปลูกกันด้วยชื่อที่เป็นมงคล คนโบราณเชื่อกันว่าการปลูกต้นกระดังงา
ทำให้คนในบ้านมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่นับหน้าถือตา มีเงินทองลาภยศ
ควรปลูกต้นกระดังงา ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน
เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคล แก่ตัวบ้านและครอบครัวที่อาศัย

ต้นมะยม เป็นต้นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมปลูกกันมาก โดยเฉพาะการปลูกที่หน้าบ้านด้วยความเชื่อที่ว่า จะทำให้คนนิยมชมชอบ ไม่มีคนคิดร้ายหรือเป็นศัตรู

ดอกบานไม่รู้โรย ถือเป็นไม้ดอกที่ชื่อเป็รมงคลนามอยู่แล้วว่า บานไม่รู้โรย จะช่วยเสริม
ด้านความรักของผู้อยู่อาศัยและคู่รักให้ผูกพันมั่นคงต่อกัน

ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้มงคล ที่นิยมปลูกกันมากด้วยชื่อที่เป็นมงคลและสีเหลืองดั่งทอง
เสริมให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า มีเงินมีทอง

ต้นวาสนา ด้วยความเชื่อว่า ทำให้ผู้ปลูกมีโชคและวาสนาที่ดี เกิดความสุข สมหวัง
ถือเป็นไม้เสี่ยงทาย ถ้าสามารถปลูกได้สวยงามและออกดอก เชื่อว่าจะทำให้มีโชคลาภ
ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้ดังหวัง

ต้นกล้วยไม้ คนโบราณเชื่อว่า กล้วยไม้ จะทำให้เกิดความประทับใจแก่บุคคลทั่วไป
ทำให้คนในบ้านมีจริยธรรม เหมาะกับผู้ปลูกที่มีอุปนิสัยเยือกเย็นอ่อนโยน

ต้นพุด เชื่อกันว่าไม่ว่าจะเป็นต้นพุดชนิดใดจะส่งผลให้มีความเจริญ มั่นคง
แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งสิ้น แต่ก็ควรให้เป็นพุดชนิดที่ดอกสีขาว

ต้นพญายอ มีความเชื่อกันว่าจะทำให้ดำเนินชีวิตราบรื่นเป็นสุขสมบูรณ์

ต้นจำปา ถือเป็นต้นไม้มงคลที่จะนำโชค และเหมาะสมกับคนเกิดวันอาทิตย์อย่างยิ่ง

ต้นชบา ถือเป็นต้นไม้มงคลด้วยความเชื่ออว่าให้คุณด้านการงานเจริญก้าวหน้าไร้ปัญหาและอุปสรรค

ต้นราชพฤกษ์หรือคูน เป็นต้นไม้มงคลด้วยดอกที่เป็นพวงระย้าสวยงาม
และมีดอกสีเหลืองตัดกับสีของท้องฟ้าในฤดูร้อน จะทำให้บ้านดูสดใส
และยังมีความเป็นมงคลทางด้านช่วยให้มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี

ต้นโป๊ยเซียน พรรณไม้มงคล จะเป็นพันธุ์ใดก็ได้แต่จะต้องมีดอกสีเหลือง
หรือสีส้ม และจะเป็นมงคลอย่างยิ่งหากเป็นสีส้มหรือสีเหลืองในดอกเดียวกัน
โป๊ยเซียนไม้แห่งโชคลาภจะนำโชคลาภมาให้กับผู้ปลูก

ต้นเข็ม เป็นต้นไม้มงคลควรปลูกต้นเข็มไว้ในบริเวณบ้านเชื่อว่าจะทำให้สมองปลอดโปร่ง
เกิดความคิดความอ่านที่ดี ความคิดเฉียบขาด ให้คุณโดยทั่วไปด้วย

ต้นมะลิ เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลที่สูงค่าจึงนิยมใช้บูชาพระ สีขาวอันบริสุทธิ์ และกลิ่นหอมเย็น
ไม่ว่าจะเป็นมะละซ้อนหรือมะลิลา ก็เป็นสิริมงคลทางด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์
มีความรักและความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป

การปลูกต้นไม้มงคล ไม้มงคลเสริมดวงชะตาผู้อยู่อาศัย ต้นไม้ที่ควรปลูก ถือเป็นต้นไม้มงคลตามทิศต่างๆ

ทิศตะวันออก ควรปลูกไม้ไผ่กอ และต้นมะพร้าว ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำทิศ
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ควรปลูกต้นยอและต้นสารภี ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำทิศ
ทิศใต้ เชื่อว่าควรปลูก ต้นมะม่วง และต้นมะพลับ
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เชื่อกันว่าควรปลูก ต้นสะเดา ต้นขนุน และต้นพิกุล
ทิศตะวันตก เชื่อกันว่าควรปลูก ต้นมะขาม ต้นมะยม
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เชื่อกันมาว่าควรปลูก ต้นมะกรูด
ทิศเหนือ เชื่อกันว่าควรปลูกพุทรา และหัวว่านต่างๆ ถือเป็นต้นไม้ประจำทิศ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าควรปลูก ต้นทุเรียน ถือเป็นต้นไม้ประจำทิศ


การปลูกต้นไม้มงคล เสริมดวง ปลูกไม้มงคลที่เป็นมงคลประจำปีเกิด

เกิดปีชวด มิ่งขวัญเสริมดวงอยู่ที่ต้นกล้วยและต้นมะพร้าว ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีฉลู มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นตาล ช่วยส่งเสริมให้ดีขึ้น ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีขาล มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นขนุนและต้นรัง ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีเถาะ มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นมะพร้าวและต้นงิ้ว ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะโรง มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นกัลปพฤกษ์ และต้นงิ้ว ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะเส็ง มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่และต้นรัง ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะเมีย มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นต้นกล้วยและต้นตะเคียน ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะแม มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นปาริชาติ และต้นทองหลาง ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีวอก มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นยาง และต้นฝ้าย ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีระกา มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นยาง และต้นฝ้าย ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีจอ มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นบัวบก และต้นสำโรง ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีกุน มิ่งขวัญอยู่ที่กอบัวหลวง และต้นบัวบก ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
ต้นไม้มงคล เสริมดวงชะตา ประจำราศีเกิด การปลูกไม้มงคล 8 ทิศ ทิศมงคลกับการปลูกต้นไม้ เสริมฮวงจุ้ย


webmaster[AT]tumsrivichai.com

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัด

เลย
ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Paphiopedilum hirsutissimum
วงศ์

ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

เป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมาก กว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม. ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ โคนสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบ ด้านบหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุทั่วทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
การขยายพันธุ์

แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม

เติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น
ถิ่นกำเนิด

ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์


ดอกเสลา
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครสวรรค์
ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia loudonii Binn.
วงศ์

LYTHRACEAE
ชื่ออื่น

เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป), อินทรชิต
ลักษณะทั่วไป

ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดงกลีบดอกบาง ยับย่นออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5–6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก
การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

ดอกไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี


ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี



ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ

Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์

Nymphaea lotus Linn.
วงศ์

NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น

บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม

ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด

แถบทวีปเอเซีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

ดอกพิกุล
ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัด

กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
ชื่อสามัญ

Bullet Wood, Spanish Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi Linn.
วงศ์

SAPOTACEAE
ชื่ออื่น

กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป

พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

http://www.panmai.com/PvFlower/Gallery/fl_15.jpg

ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ดอกไม้ประจำจังหวัด

เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma
วงศ์

LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะทั่วไป

ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด

อินเดีย

ดอกฝ้ายคำ




ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ชื่อสามัญ

Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์

Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์

BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น

ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด

อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

บทที่ 1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การเรียนการสอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบของการเรียนการสอนให้ทันกับยุดเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคม เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่สำคัญในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกับการเรียนการสอน ได้ถูกนำมาเป็นสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Courseware) สำหรับช่วยเสนอในรายวิชาต่าง ๆ เพราะมีความเหมาะสมในการแสดงผลในรูปของ ข้อความ กราฟฟิก แสง สี เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการทำปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน มีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ช่วยในการสร้างบทเรียน (Authoring System) ที่สามารถนำมาช่วยพัฒนาบทเรียนให้ได้ตามที่ต้องการ

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน
ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและการถามตอบไว้พร้อมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และเป็นรายบุคคล โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการเรียนการสอน
CAI : Computer Assisted Instruction หรือ Computer Aided Instruction

1.1 หลักการคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษแตกต่างกันออกไป
หลายชื่อ เช่น Computer Assisted Instruction, Computer Based Instruction และ
Computer Based Teaching and Learning System แต่อย่างไรก็ตามหลักการของระบบ
คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนทุกแนวคิดมุ่งที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในฐานะ สื่อระบบการเรียนการสอนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตของระบบการเรียนการสอน ให้มีคุณภาพสูงสุด โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เจมส์ เอส สกินเนอร์ (Jame S. skinner) นักจิตวิทยาการศึกษาได้กล่าวว่าระบบการเรียนการสอนที่ดีจะต้องสร้าง สถานการณ์ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ 5 ประการ คือ
1. ระบบการเรียนการสอนที่ดีจะต้องแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นตอน ๆ มีความยาวเหมาะสมกับวุฒิภาวะทางการรับรู้ของผู้เรียน (gradual approximation ) โดยคำนึงถึงหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ( behavioral science ) ตามทฤษฎีที่ว่า "ถ้าเราแบ่งเนื้อหาวิชาที่จะถ่ายทอดให้ผู้เรียนเป็นตอน ๆ ทีละน้อยเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ผู้เรียนจะสามารถรับความรู้ได้ดีกว่าการให้ความรู้แก่ผู้เรียนครั้งละมาก ๆ " ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถเก็บและเรียกข้อมูลเนื้อหาวิชาทีละตอนได้สะดวกและรวดเร็วมาก
2. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง ( active partici-
pation) หมายถึง การที่ใช้คอมพิวเตอร์กำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ตอบสนองอย่างชัดเจน
3. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนรู้และกิจกรรมที่ปฏิบัติ ทันทีที่ปฏิบัติสำเร็จ (immediatly feed back) หมายถึง การเฉลยคำตอบหรือปฏิบัติกิจกรรมนั้นสำเร็จโดยฉับพลัน ซึ่งข้อนี้เป็นจุดเด่นของระบบคอมพิวเตอร์ที่ดีกว่าสื่ออื่น ๆ
4. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แห่งความสำเร็จ (successive
experience) คือ การดำเนินการจัดการชักนำเข้าสู่กิจกรรมที่ถูกต้อง (Leading of prompt) ตาม
หลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อที่ผ่านมาโดยเคร่งครัดคือ
(1) แบ่งเนื้อหาวิชาเป็นตอนสั้น ๆ เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนเพื่อขจัดปัญหาการรับรู้
และการจำการลืมกับเนื้อหาวิชาจำนวนมาก ๆ ในเวลาอันสั้น
(2) ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเพื่อเป็นการคิด ปฏิบัติทดลองและ
ทบทวนความรู้ทุก ๆ ขั้นตอนเป็นระยะสั้น ๆ
(3) จะต้องมีการเฉลยผลกิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำทันทีที่ปฏิบัติสำเร็จโดยฉับพลันรวดเร็ว
5. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่ดี (Positive reinforcement) เช่น
การให้รางวัลเป็นข้อความชมเชย หรือรางวัลเป็นรูปอื่น ๆ เมื่อผู้เรียนประสบความสำเร็จในแต่ละชั้นแต่ถ้าผู้เรียนเกิดความผิดพลาดใน การปฏิบัติ ก็ไม่ติเตียนแต่ต้องเป็นการให้กำลังใจเพื่อที่ผู้เรียนจะพยายามกระทำกิจกรรม ต่อไปให้ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอยากเรียนรู้สูงกว่าการเรียนปกติ และไม่เลิกเรียนกลางคัน การเสริมแรงมีอิทธิพลต่อการเรียนของผู้เรียนสูงมาก

1.2 ข้อดีของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

1. ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็วของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นสื่อ
การเรียนการสอนของการเรียนเป็นรายบุคคลที่ดีสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอน ตามความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะเรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคน โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องรอหรือเร่งการตอบสนอง( respond ) และไม่ต้องรอข้อมูลย้อนกลับ (feed back) จากครู เพราะคอมพิวเตอร์สามารถให้ข้อมูลกลับแก่ผู้เรียนทุกคนในเวลาเดียวกันโดยใช้ ระบบการเจียดเวลา (Time Sharing)
2. ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนเมื่อใดก็ได้ ด้วยความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารทำให้ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อ ถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่น หรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้ทุกเวลาที่ต้องการจะ เรียนในทุก ๆ แห่ง
3. ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสื่อประสม (Multi media) จากระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก
ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนสามารถ ที่จะแสดงภาพลายเส้นที่เคลื่อนไหวและการเสนอบทเรียนเป็นภาษาไทย การต่อวงจรระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสื่ออื่นให้เสนอบทเรียนในเวลาที่เหมาะสมกับ การตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดีขึ้นมาก
4. ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่น ๆ เนื่อง
จากคอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่น คือการเก็บข้อมูลซ่อนคำตอบของกิจกรรมไว้ในหน่วยความจำหรือแผ่นดิสก์ได้ครั้งละมาก ๆ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมแล้วระบบคอมพิวเตอร์สามารถบอกคำตอบหรือผลเฉลี่ยของกิจกรรมที่ถูกต้องได้ทันที

1.3 ข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

1. ขาดบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ เกี่ยวกับการสอนวิชาต่าง ๆ แต่วิชาเหล่านี้ไม่ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรงจำเป็นต้องมีการนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้ เหมาะสมกับหลักสูตรของประเทศไทย และเป็นภาษาไทยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระบบการเรียนการสอน แต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างดีขาดความรู้ด้านการจัดระบบการศึกษา และฝึกอบรมบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และผู้ที่มีความรู้ในด้านการจัดระบบการศึกษา

กระบวนการเรียนการสอนคือ การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เมื่อผู้เรียนรับรู้ข้อมูลแล้วแปลผลก็แสดงว่ามีการเรียนเกิดขึ้น
การสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอนมี 2 ลักษณะได้แก่
1. การสื่อสารทางเดียว คือ การสื่อสาร ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้เรียนทางเดียว ผู้เรียน
ไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบไปยังผู้สอนได้ เช่น การเรียนระบบทางไกล การอ่านจากเอกสารและตำรา ฯ
2. การสื่อสารสองทาง คือ การสื่อสารที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถโต้ตอบกันได้ เช่นการ
สอนในห้องเรียน การสาธิต ฯ
การสื่อสารแบบสองทาง เป็นวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้เรียนสามารถแปลผลหรือรับรู้ข่าวสารได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เมื่อไม่เข้าใจก็สามารถซักถามผู้สอนได้

1.4 ลักษณะของบทเรียน CAI

บทเรียน CAI เป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์นำเสนอบทเรียน มีลักษณะเป็นโมเดล
(Model) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบเชิงเส้น (Linear Programming) เป็นบทเรียนที่ต้องเรียนทีละหน่วยตามลำดับ จะ
ข้ามหน่วยไม่ได้ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของบทเรียน
2. แบบไม่เชิงเส้น (Branching Programming) เป็นบทเรียนที่โยงระหว่างหน่วยถึงกันได้
ตามความต้องการ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหน่วยต่าง ๆ ที่จัดไว้ตามระดับความสามารถหรือตามความต้องการของตนเองได้

1.5 รูปแบบการออกแบบการแสดงจอภาพ

การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้หลายระบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล ความชอบของผู้พัฒนา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กวัยรุ่นและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความบันเทิง อาจจะออกแบบให้มีทิศทางการไหลของหน้าจอภาพที่หลากหลายใช้ลูกเล่นได้มากกว่า จอภาพที่นำเสนอให้กับผู้ใหญ่ หรือด้านวิชาการ
ทั้งนี้รูปแบบการออกแบบจอภาพ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1. แบบลำดับขั้น (Hierarchy) เป็นการจัดแสดงหน้าจอภาพเรียงตามลำดับกิ่งก้านแตกแขนงต่อเนื่องไปเหมือนต้นไม้กลับหัว

2. แบบเชิงเส้น (Linear) เป็นการจัดแสดงหน้าจอภาพเรียงต่อเนื่องไปในทิศทางเดียว

3. แบบผสม (Combination) เป็นการจัดหน้าจอภาพชนิดผสมระหว่างแบบลำดับขั้น
และแบบเชิงเส้น

1.6 ประเภทของบทเรียน CAI

บทเรียน CAI จำแนกได้ 7 ประเภท ได้แก่
1. แบบฝึกหัดและแบบฝึกทักษะ (Drill and Practice) เป็นลักษณะบทเรียนโปรแกรมที่
สามารถเลือกบทเรียนที่จะเรียนได้ตามระดับความสามารถของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดให้ทำเพื่อทดสอบระดับความรู้ และสามารถทบทวนบทเรียนได้ เมื่อยังไม่เข้าใจหรือมีความรู้ไม่เพียงพอ
2. แบบเจรจา (Dialoque) เป็นลักษณะพูดคุยได้โต้ตอบได้ใช้ในการเรียนด้านภาษาหรือกับนักเรียนระดับอนุบาลหรือระดับประถมศึกษาตอนต้น
3. แบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) ใช้กับการเรียนที่เรียนเกี่ยวกับของจริงได้ยาก
หรือเสี่ยงอันตราย เช่น จำลองการฝึกบิน การเดินทางในอวกาศ เป็นต้น
4. เกมส์ (Games) เป็นการเรียนรู้จากเกมส์ที่จัดทำด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น เกมส์ต่อภาพ
เกมส์ต่อคำศัพท์ เกมส์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
5. การแก้ปัญหาต่าง ๆ (Problem Solving) เป็นการเรียนที่ให้คอมพิวเตอร์สุ่มข้อมูล
มาแล้วให้ผู้เรียนวิเคราะห์ หรือแก้ปัญหา เช่น วิชาสถิติ วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น
6. การค้นพบสิ่งใหม่ ๆ (Investigation) เป็นการจัดสถานการณ์ขึ้น แล้วให้ผู้เรียน
ค้นหาข้อเท็จจริง เช่น การผสมพยัญชนะ หรือคำศัพท์ โดยคอมพิวเตอร์จะบอกความหมายคำตรงข้ามคำใกล้เคียง เป็นต้น
7. การทดสอบ (Testing) เป็นการทดสอบความรู้ และความสามารถของผู้เรียน โดย
คอมพิวเตอร์จะจัดข้อสอบและทำการประมวลผลให้ทราบในทันที เช่น การทดสอบความรู้พื้นฐาน
การทดสอบ I.Q. การทดสอบความถนัดด้านต่าง ๆ เป็นต้น

1.7 คุณลักษณะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างบทเรียน CAI

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้สร้างบทเรียน CAI ประยุกต์มาจากโปรแกรมนำเสนอผลงาน (Presentation Software) ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. โปรแกรมนำเสนอด้วยภาพนิ่ง (Slide Presentation software)
2. โปรแกรมนำเสนอด้วยภาพเคลื่อนไหว (Animation Presentation software)
3. โปรแกรมสื่อประสม (Multimedia or Interactive Vedio)
โปรแกรมภาพเคลื่อนไหวและโปรแกรมสื่อประสมเป็นสื่อในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพมาก

1.8 การสร้างบทเรียน CAI ซึ่งโปรแกรมจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. สร้างภาพ (Graphic) ได้
2. สร้างตัวอักษร (Text) ได้
3. นำเสนอบทเรียนต่อเนื่องได้
4. นำเสนอบทเรียนประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวได้
5. ทำแบบทดสอบและวัดผลได้



1.9 CAI กับการเรียนรู้ของคนไทย

ท CAI - Computer aided instruction
ท บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ท สื่อการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบ และพัฒนาโดยใช้คอมพิวเตอร์ และถ่ายทอดผ่านทางสื่อคอมพิวเตอร์หรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สัญญาณดาวเทียมเมื่อนำไปใช้ในระบบการศึกษาทางไกล

1.10 ความจำเป็นในการพัฒนา CAI

1. สร้างสื่อการเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้กับวงการการศึกษา
2. เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับคนส่วนใหญ่ในสังคม
- นำไปใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา ตามความต้องการของผู้เรียน
- เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น internet การศึกษาทางไกล
3. สร้างคลังข้อมูลการเรียนรู้ให้กับประเทศ
- นำข้อมูลต่าง ๆ มารวบรวมไว้ด้วยกัน
- ผสมผสานทัศนะคติและความคิดเห็นของบุคคลหลาย ๆ คนไว้ในสื่อเดียวกัน

1.11 ประโยชน์ของ CAI

1. ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครู
- นักเรียนมีสื่อรูปแบบใหม่ในการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
- ครูต้องค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ครูต้องศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. แก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนในบางรายวิชา
3. กระตุ้นความสนใจให้กับผู้เรียน
4. กระตุ้นความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5. ช่วยให้เกิดความเข้าใจในหัวข้อการเรียนการสอน
6. เป็นข้อมูลบริหารการศึกษาให้กับระบบการศึกษาของประเทศ
7. เป็นสื่อการศึกษาที่สามารถเผยแพร่ได้อย่างแพร่หลาย

1.12 โปรแกรมช่วยพัฒนา CAI

1. โปรแกรมออกแบบงานกราฟิก ( Graphics Softwares )
- Photo Shop, Paint Brush ฯลฯ
2. โปรแกรมออกแบบภาพเคลื่อนไหว ( Animation Softwares )
- Gif Animation , Animagic Gif ,Gif Construction ,Corel Xara
3. โปรแกรมสร้างสื่อ ( Authoring Softwares )
- Show Partner F/X
- จุฬา C.A.I
- Authorware
- Tool Book

1.12.1 การพัฒนา CAI ภายใต้ระบบ WINDOWS
โปรแกรมที่ใช้พัฒนา (Authoring Softwares)
- Authorware
- Multimedia ToolBook
- CAI EZ Tools โดยบริษัทคอมพิวเทค ไมโครซิสเท็ม จำกัด
- Microsoft Power Point 7.0 for Windows 95
- Microsoft Viewer

การสร้างสื่อต้องทำให้เหมาะสมกับสถานศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร ต้องพิจารณาเกี่ยวกับความละเอียดของจอภาพ และจำนวนสี ฟอนต์ที่นำมาใช้งาน พิจารณาถึงการนำเสียงและวิดีโอมาใช้ประกอบบทเรียน


1.12.2 การพัฒนา CAI ด้วยโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
1. โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่นำมาพัฒนา CAI เช่น
- C Language
- Pascal
- Visual Basic
2. เป็นการพัฒนาระบบสร้าง CAI รูปแบบใหม่
3. พัฒนาบุคลากรของประเทศ
4. ออกแบบและสร้างบทเรียนได้ตรงตามความต้องการ

1.13 องค์ประกอบที่จำเป็นในการพัฒนา CAI

1. บทสคริปต์ อาศัยนักวิชาการ ที่มีความรู้ในรายวิชานั้น ๆ
2. โครงสร้างของโปรแกรม โดยนักวิเคราะห์ระบบร่วมกับนักวิชาการ
3. ภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนการจัดโครงเรื่อง อาศัยช่างศิลป์มืออาชีพ
4. เสียงประกอบ อาศัยผู้จัดทำดนตรีที่มีความชำนาญ
5. โปรแกรม อาศัยนักเขียนโปรแกรมที่มีความรู้ใน Authoring Software ที่เลือกใช้งาน ควรออกแบบในลักษณะโปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้

1.13.1 ข้อเสนอแนะการพัฒนา CAI ในสถานศึกษา
1. ควรมีการจัดตั้งกลุ่มพัฒนา CAI ในสถานศึกษา
2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามคุณสมบัติและความสามารถของบุคลากร
- ผู้เขียนสคริปต์ ได้แก่ ครูตามสาขาวิชา
- นักออกแบบเสียงและกราฟิก ได้แก่ ครูสอนดนตรีและศิลปะ
- นักโปรแกรม ได้แก่ ครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์
3. พิจารณาเลือก Authoring Software ให้ตรงกับสภาพของคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่จริงตามสถานศึกษานั้น ๆ

1.13.2 CAI กับอินเทอร์เน็ต
1. สร้างสื่อ CAI ด้วย HTML และ JAVA
- ความพร้อมทาง Hyper Text
- สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายและมีขนาดไฟล์ที่เล็ก
- สร้างสถานการณ์จำลองได้ด้วย JAVA
- มีโมดูลสำเร็จให้เลือกใช้มากมาย
2. นำเสนอสื่อ CAI ผ่านทางระบบ Internet
- เผยแพร่ได้กว้างขวาง
- แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนะคติ และข้อคิดเห็นในการสร้าง CAI ได้กว้าง

1.14 การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรม

1. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware)
- ซีพียู (CPU) ระดับ Pentium ขึ้นไป
- หน่วยความจำ (RAM) 32 Mb ขึ้นไป
- ฮาร์ดดิกส์ (Harddisk) ขนาด 1.2 GB ขึ้นไป
- CD-ROM
- การ์ดเสียง พร้อมลำโพง ไมโครโฟน (Card Sound)
- จอภาพ (Monitor) ขนาด 14 นิ้ว ขึ้นไป
- เครื่องสแกนภาพ (Scanner) หรือกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล
- เครื่องเล่นและบันทึกเสียง
2. โปรแกรม (Software)
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98, 2000
- โปรแกรมสร้างงานมัลติมีเดีย
- โปรแกรมวาดภาพและแต่งภาพ
- โปรแกรมจัดการด้านเสียง ภาพวิดีโอ

เมื่อได้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ต้องการสำหรับการใช้เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ให้ทำติดตั้งโปรแกรมเหล่านั้นให้เรียบร้อย การเลือกใช้ความละเอียดของจอภาพโดยทั่วไป 800 X 600 จุด ส่วนค่าสีที่ใช้อยู่ระหว่าง 256 color จนถึง High color 24 bit ให้เลือกปรับให้เหมาะกับงานที่สร้าง นอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ให้เลือกหาและใช้ตามที่เหมาะสม



http://school.obec.go.th/wadjay/cai1.htm